เมนู

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[213] 1. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปทั้งหลาย ที่เป็นอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย,
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่
กายนี้ที่เป็นอนิทัสสนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
นี้ที่เป็นสนิทัสสนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
3. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสนธรรม
และอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย
นี้ที่เป็นสนิทัสสนธรรม และอนิทัสสนธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[214] 1. สนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นรูปที่เป็นสนิทัสสนธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
2. อนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสนธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอนิทัสสนธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอนิทัสสนธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ
ขันธ์ 2 ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.